สถานที่สัปปายะ.. แวดล้อมด้วยหุบเขาเงาป่า และสายน้ำ ให้ความรู้สึกสงบ ร่มเย็นทุกครั้งที่มาเยือน "วัดป่าอัมพวัน" นับเป็นอีกที่หนึ่งของผู้แสวงหาสถานที่ปฏิบัติธรรม ทั้งเพื่อหวังขัดเกลากิเลสตัณหาในใจมุ่งสู่ทางหลุดพ้น หรือเพียงเพื่อมาสงบจิตใจในยามที่มรสุมแห่งความทุกข์พัดผ่านเข้ามาในชีวิต..
วัดป่าอัมพวัน ซึ่งเป็นวัดสาขาวัดหนองป่าพงที่ 42ตั้งอยู่ในเขต ต.หนองรี อ.เมือง จ.ชลบุรี ทางที่จะไปบ้านบึง (ดูแผนที่ข้างล่าง) เป็นวัดป่ากรรมฐานในสายพระโพธญาณเถร (หลวงพ่อชาสุภัทโท)
ป้ายบอกทางไปวัดป่าอัมพวัน
จากปากทางถนนสายชลบุรี-บ้านบึง เข้ามาประมาณ 3-4 ก.ม. จะเห็นป้ายบอกทางเป็นระยะ นำทางมุ่งสู่เชิงเขาที่ติดกับอ่างเก็บน้ำช่องมะเฟือง อันเป็นที่ตั้งของ วัดป่าอัมพวัน
ผ่านประตูวัดเข้าไปจะเห็นกวางสองตัวนี้นอนเฝ้าธรรมจักรกับอยู่ด้านขวามือติดกับริมรั้ว
"ตราบใดที่คนเรายังคงมุ่งแสวงหาความสุขจากภายนอก ความสุขแบบโลกๆที่ต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นความรัก ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ จากคนอื่น ..ตราบนั้น เราก็ยังต้องวนเวียนอยู่ในกองทุกข์เรื่อยไปอย่างไม่มีวันสิ้นสด.."
หากจะมาทำบุญในตอนเช้าที่ วัดป่าอัมพวัน แห่งนี้ ขอแนะนำให้มาถึงวัดก่อนเวลา9.00น.
หรือถ้าจะให้ดีควรมาถึงวัดช่วง 7.00-8.30 เพื่อจะได้มีเวลาจัดสำรับอาหารและหาที่นั่งบนศาลาเพื่อฟังธรรมและรับศีลรับพรจากหลวงพ่อ..
เนื่องจากที่นี่เป็นวัดป่าสายวิปัสนา พระท่านจะฉันเพียงมื้อเดียว เวลาลงฉันก็ประมาณ 9.30 น. หากมาหลังเวลานี้ก็อาจไม่ทันถวายภัตตราหาร..
นี่เป็นศาลาอเนกประสงค์ที่พระท่านใช้เป็นโรงฉันและให้ญาติโยมนั่งฟังธรรม ตลอดจนรับศีลรับพร รวมถึงใช้รับรองญาติโยมในงานต่างๆ เช่น งานทอดกระฐินประจำปี ทอดผ้าป่า และกิจกรรมอื่นๆ
บรรยากาศภายในศาลา หลังคาสูงทรงไทย ด้านข้างเปิดโล่งให้ลมพัดผ่านได้ ไม่ต้องอาศัยพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศให้สิ้นเปลืองพลังงาน
หลังจากหลวงพ่อแสดงธรรมเทศนา และให้ศีลให้พรแก่ญาติโยมเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาฉันจังหัน ซึ่งกว่าจะได้ฉันก็ปาเข้าไปเกือบ 10 โมงเช้า..
" หลายคนลืมว่า.. สักวันหนึ่ง เมื่อการเดินทางของชีวิตในโลกนี้สิ้นสุดลง เราทั้งหลายต่างต้องออกเดินทางไกลต่อไป จงหันมองและสำรวจตัวเองว่า..เราได้เตรียมอะไรให้กับชีวิตใว้บ้าง.. เสบียงที่ต้องใช้สำหรับการเดินทางที่แสนยาวไกล... ท่านเตรียมอะไรใว้แล้วหรือยัง? "
พระอุโบสถส์.. สถาปัตยกรรมที่สวยงามแปลกตา ผสมผสานระหว่างไม้และปูน มีห้องด้านล่างเป็นที่พักสำหรับอุบาสกที่มาปฏิบัติธรรมที่วัด..
ส่วนห้องข้างบน เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติศาสนกิจ ลงอุโบสถส์ ทำวัตรเช้า -เย็น และเป็นที่ปฏิบัติธรรมเจริญภาวนา สำหรับพระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาผู้ใคร่ธรรม..
ด้านหน้าและรอบๆอุโบสถส์ ประดับด้วยสวนหย่อม และไม้ดอกหลายชนิด เพิ่มความร่มรื่นสวยงามให้กับสถานที่..
ถัดจากพระอุโบสถส์มาไม่ไกล จะพบศาลาทรงไทย สถาปัตยกรรมที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์อันสวยงามแบบไทยๆ มาทุกยุคทุกสมัย ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้ธรรมชาติที่ร่มรื่น ที่นี่..เป็นเรือนใช้สำหรับรับรองพระอาคันตุกะผู้ใหญ่ และเป็นที่ลงรับรับแขกของหลวงพ่อเจ้าอาวาส(พระอาจารย์จันดี กนตฺสาโร )
แม้แต่ห้องน้ำและทางเดินก็ได้รับการออกแบบ และดูแลเป็นอย่างดี ซึ่งจะไม่มีขยะและใบไม้ตามพื้นทางเดินให้เห็นเลย..
ตามถนนทางเดินและทางเชื่อมภายในวัด ..สองข้างทางปกคลุมด้วยมวลแมกไม้หลายชนิด ให้ความร่มรื่นและร่มเงาตลอดเส้นทางเดิน
ด้านตรงข้ามศาลาโรงฉัน จะเป็นส่วนที่พักของคุณยาย(ผู้ดูแลวัด) และอุบาสิกา ผู้มาถือศีลปฏิบัติธรรม ซึ่งแยกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนกับฝั่งของอุบาสก(ผู้ชาย) หากใครจะมาขอพักที่วัดเพื่อถือศีลปฏิบัติธรรมจะต้องมาขออนุญาติบอกกล่าวกับคุณยายทีนี่...
รอบๆบริเวณวัดด้านโรงทาน(โรงอาหาร) จะมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นแหล่งอาศัยของฝูงปลานานาชนิด ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และมีผู้ใจบุญเอามาปล่อย เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจยิ่งนัก
ทั้งยังมีแพกลางน้ำที่ต่อยื่นออกไป สำหรับให้อาหารปลาและนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติรอบๆบริเวณวัดได้อีกด้วย (ร้านค้าก่อนถึงทางเข้าวัดจะมีขนมปัง และอาหารปลาขายด้วย..)
เนื่องจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างช่องเขาพอดี จึงทำให้มีลมพัดผ่านตลอดทั้งปี และเป็นสายลมที่ค่อนข้างแรง ซึ่งทางวัดป่าอัมพวัน ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ เพื่อนำพลังลมไปผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในวัดได้อีกด้วย..
ส่วนเส้นทางที่จะมา วัดป่าอัมพวัน สำหรับผู้ที่มาครั้งแรกอาจจะหายากสักหน่อย เพราะอยู่ลึกจากถนนใหญ่เข้ามาไกลพอสมควร และเส้นทางบางช่วงวกวน
ถ้าท่านมาทางสายมอเตอร์เวย์จากกรุงเทพ เมื่อพบป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายไป อ.บ้านบึงให้ท่านเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง ถึงถนนใหญ่สายบ้านบึง ขับมาประมาณ 500เมตร จะเห็นสะพานลอยคนข้าม ให้เตรียมชิดขวา แล้วกลับรถมาประมาณ 50 เมตร จะพบป้าย วัดหนองรี และ วัดป่าอัมพวัน ขับตรงไปประมาณ 3 ก.ม. มีป้ายบอกทางชี้ไปทางซ้าย ตรงไปอีกประมาณ 2-3 ก.ม. มีป้ายบอก วัดป่าอัมพวัน อ่างเก็บน้ำช่องมะเฟือง ให้เลี้ยวขวาไปตามทางจนสุดสาย ประมาณ 2 ก.ม. ท่านก็จะพบประตูทางเข้าวัด..
สำหรับญาติธรรมผู้สนใจทำบุญ หรืออยากแวะมาเยี่ยมชม นมัสการหลวงพ่อ สามารถดูรายระเอียดได้ที่เว็ปไซด์ของทางวัดที่..http://watpahampawan.com/default.aspx
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ศาลาอนุสรสถานหลวงปู่ชา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง นำภาพล่าสุดมาฝากครับ..
วัดป่าอัมพวัน ซึ่งเป็นวัดสาขาวัดหนองป่าพงที่ 42ตั้งอยู่ในเขต ต.หนองรี อ.เมือง จ.ชลบุรี ทางที่จะไปบ้านบึง (ดูแผนที่ข้างล่าง) เป็นวัดป่ากรรมฐานในสายพระโพธญาณเถร (หลวงพ่อชาสุภัทโท)
ป้ายบอกทางไปวัดป่าอัมพวัน
จากปากทางถนนสายชลบุรี-บ้านบึง เข้ามาประมาณ 3-4 ก.ม. จะเห็นป้ายบอกทางเป็นระยะ นำทางมุ่งสู่เชิงเขาที่ติดกับอ่างเก็บน้ำช่องมะเฟือง อันเป็นที่ตั้งของ วัดป่าอัมพวัน
ผ่านประตูวัดเข้าไปจะเห็นกวางสองตัวนี้นอนเฝ้าธรรมจักรกับอยู่ด้านขวามือติดกับริมรั้ว
"ตราบใดที่คนเรายังคงมุ่งแสวงหาความสุขจากภายนอก ความสุขแบบโลกๆที่ต้องพึ่งพาอาศัยบุคคลอื่น ไม่ว่าจะเป็นความรัก ความสงสาร ความเห็นอกเห็นใจ จากคนอื่น ..ตราบนั้น เราก็ยังต้องวนเวียนอยู่ในกองทุกข์เรื่อยไปอย่างไม่มีวันสิ้นสด.."
หากจะมาทำบุญในตอนเช้าที่ วัดป่าอัมพวัน แห่งนี้ ขอแนะนำให้มาถึงวัดก่อนเวลา9.00น.
หรือถ้าจะให้ดีควรมาถึงวัดช่วง 7.00-8.30 เพื่อจะได้มีเวลาจัดสำรับอาหารและหาที่นั่งบนศาลาเพื่อฟังธรรมและรับศีลรับพรจากหลวงพ่อ..
"คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงวัดเมื่อในยามที่ชีวิตประสบความทุกข์ จะหันหน้าหาธรรมก็ต่อเมื่อความทุกข์นั้นเข้ากัดกินจิตใจจนยากเยียวยา ไม่อาจหายาขนานใดมาสมานแผลนั้นได้ จึงได้เดินเข้าสู่วัดเพื่อหวังใช้ธรรมบรรเทาและเยียวยาหัวใจ"
เนื่องจากที่นี่เป็นวัดป่าสายวิปัสนา พระท่านจะฉันเพียงมื้อเดียว เวลาลงฉันก็ประมาณ 9.30 น. หากมาหลังเวลานี้ก็อาจไม่ทันถวายภัตตราหาร..
"คนบางคนเข้าวัดเพียงเพื่อมุ่งหวังโชคลาภ ดูดวง หรือแสวงหาวัตถุมงคลเครื่องรางของขลัง อันเป็นแค่เปลือกนอกของพุธศาสนา หาใช่แก่นแท้ตามที่องค์พระศาสดามุ่งหวังไม่.."
นี่เป็นศาลาอเนกประสงค์ที่พระท่านใช้เป็นโรงฉันและให้ญาติโยมนั่งฟังธรรม ตลอดจนรับศีลรับพร รวมถึงใช้รับรองญาติโยมในงานต่างๆ เช่น งานทอดกระฐินประจำปี ทอดผ้าป่า และกิจกรรมอื่นๆ
"หลายคน..ทุ่มเทเรี่ยวแรง และช่วงเวลาที่ดีที่สุดของชีวิตไปให้กับคนอื่น ใช้เวลาหมดไปกับการทำงาน หาเลี้ยงดูครอบครัว รอว่า..เมื่อแก่ตัวค่อยหันหน้าเข้าวัดก็ยังทัน แต่พอถึงเวลานั้นจริงๆ กลับไม่มีเรียวแรงที่จะภาวนา แม้แต่จะเดินก็ยังลำบาก เพราะสังขารในวัยชราไม่เอื้ออำนวยต่อการปฏิบัติธรรมเสียแล้ว.. "
บรรยากาศภายในศาลา หลังคาสูงทรงไทย ด้านข้างเปิดโล่งให้ลมพัดผ่านได้ ไม่ต้องอาศัยพัดลมหรือเครื่องปรับอากาศให้สิ้นเปลืองพลังงาน
" เพราะเราไม่อาจรู้ได้ว่า ชีวิตที่ดำเนินอยู่นี้ จะสิ้นสุดลงเมื่อใด ฉะนั้นจงใช้ชีวิตอย่างระมัดระวัง ถนุถนอม และตั้งอยู่ในความไม่ประมาท "
หลังจากหลวงพ่อแสดงธรรมเทศนา และให้ศีลให้พรแก่ญาติโยมเสร็จแล้ว ก็ถึงเวลาฉันจังหัน ซึ่งกว่าจะได้ฉันก็ปาเข้าไปเกือบ 10 โมงเช้า..
พระอุโบสถส์.. สถาปัตยกรรมที่สวยงามแปลกตา ผสมผสานระหว่างไม้และปูน มีห้องด้านล่างเป็นที่พักสำหรับอุบาสกที่มาปฏิบัติธรรมที่วัด..
ส่วนห้องข้างบน เป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติศาสนกิจ ลงอุโบสถส์ ทำวัตรเช้า -เย็น และเป็นที่ปฏิบัติธรรมเจริญภาวนา สำหรับพระภิกษุ อุบาสก อุบาสิกาผู้ใคร่ธรรม..
ด้านหน้าและรอบๆอุโบสถส์ ประดับด้วยสวนหย่อม และไม้ดอกหลายชนิด เพิ่มความร่มรื่นสวยงามให้กับสถานที่..
ถัดจากพระอุโบสถส์มาไม่ไกล จะพบศาลาทรงไทย สถาปัตยกรรมที่ยังคงความเป็นเอกลักษณ์อันสวยงามแบบไทยๆ มาทุกยุคทุกสมัย ตั้งอยู่ท่ามกลางแมกไม้ธรรมชาติที่ร่มรื่น ที่นี่..เป็นเรือนใช้สำหรับรับรองพระอาคันตุกะผู้ใหญ่ และเป็นที่ลงรับรับแขกของหลวงพ่อเจ้าอาวาส(พระอาจารย์จันดี กนตฺสาโร )
แม้แต่ห้องน้ำและทางเดินก็ได้รับการออกแบบ และดูแลเป็นอย่างดี ซึ่งจะไม่มีขยะและใบไม้ตามพื้นทางเดินให้เห็นเลย..
ตามถนนทางเดินและทางเชื่อมภายในวัด ..สองข้างทางปกคลุมด้วยมวลแมกไม้หลายชนิด ให้ความร่มรื่นและร่มเงาตลอดเส้นทางเดิน
ด้านตรงข้ามศาลาโรงฉัน จะเป็นส่วนที่พักของคุณยาย(ผู้ดูแลวัด) และอุบาสิกา ผู้มาถือศีลปฏิบัติธรรม ซึ่งแยกเป็นสัดส่วนอย่างชัดเจนกับฝั่งของอุบาสก(ผู้ชาย) หากใครจะมาขอพักที่วัดเพื่อถือศีลปฏิบัติธรรมจะต้องมาขออนุญาติบอกกล่าวกับคุณยายทีนี่...
รอบๆบริเวณวัดด้านโรงทาน(โรงอาหาร) จะมีอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ เป็นแหล่งอาศัยของฝูงปลานานาชนิด ทั้งที่เกิดเองตามธรรมชาติ และมีผู้ใจบุญเอามาปล่อย เหมาะสำหรับเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจยิ่งนัก
ทั้งยังมีแพกลางน้ำที่ต่อยื่นออกไป สำหรับให้อาหารปลาและนั่งพักผ่อนชมธรรมชาติรอบๆบริเวณวัดได้อีกด้วย (ร้านค้าก่อนถึงทางเข้าวัดจะมีขนมปัง และอาหารปลาขายด้วย..)
เนื่องจากอ่างเก็บน้ำแห่งนี้ ตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างช่องเขาพอดี จึงทำให้มีลมพัดผ่านตลอดทั้งปี และเป็นสายลมที่ค่อนข้างแรง ซึ่งทางวัดป่าอัมพวัน ได้ติดตั้งกังหันลมขนาดใหญ่ เพื่อนำพลังลมไปผลิตกระแสไฟฟ้าใช้ภายในวัดได้อีกด้วย..
ส่วนเส้นทางที่จะมา วัดป่าอัมพวัน สำหรับผู้ที่มาครั้งแรกอาจจะหายากสักหน่อย เพราะอยู่ลึกจากถนนใหญ่เข้ามาไกลพอสมควร และเส้นทางบางช่วงวกวน
ถ้าท่านมาทางสายมอเตอร์เวย์จากกรุงเทพ เมื่อพบป้ายบอกทางเลี้ยวซ้ายไป อ.บ้านบึงให้ท่านเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง ถึงถนนใหญ่สายบ้านบึง ขับมาประมาณ 500เมตร จะเห็นสะพานลอยคนข้าม ให้เตรียมชิดขวา แล้วกลับรถมาประมาณ 50 เมตร จะพบป้าย วัดหนองรี และ วัดป่าอัมพวัน ขับตรงไปประมาณ 3 ก.ม. มีป้ายบอกทางชี้ไปทางซ้าย ตรงไปอีกประมาณ 2-3 ก.ม. มีป้ายบอก วัดป่าอัมพวัน อ่างเก็บน้ำช่องมะเฟือง ให้เลี้ยวขวาไปตามทางจนสุดสาย ประมาณ 2 ก.ม. ท่านก็จะพบประตูทางเข้าวัด..
สำหรับญาติธรรมผู้สนใจทำบุญ หรืออยากแวะมาเยี่ยมชม นมัสการหลวงพ่อ สามารถดูรายระเอียดได้ที่เว็ปไซด์ของทางวัดที่..http://watpahampawan.com/default.aspx
+++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++++
ศาลาอนุสรสถานหลวงปู่ชา อยู่ระหว่างการก่อสร้าง นำภาพล่าสุดมาฝากครับ..
อยากไปจังเลยภาพสวยมาก
ตอบลบออกพรรษา ผ่านไป ช่างไวนัก
ตอบลบวัฏจักร หมุนเวียน เปลี่ยนแปรผัน
จากปลายฝน สู่ต้นหนาว คราวเหมันต์
ผ่านคืนวัน ปีใหม่ ใกล้เข้ามา
อย่าหวนคิด ถึงชีวิต ที่ล่วงผ่าน
จะอยู่นาน ถึงเมื่อใด ใช่ปัญหา
อดีตล่วง ผันผ่าน กาลเวลา
อย่าเก็บมา ครุ่นคิด จิตกังวล
ทำวันนี้ ที่มี ดีที่สุด
เพื่อพ้นหลุด ห้วงทุกข์ สุขส่งผล
ใช้เวลา ที่เหลืออยู่ ดูใจตน
เร่งฝึกฝน จิตกล้าแกร่ง แทงอบาย..
ชีวิตนี้มันสั้นนัก ถ้าอยากทำอะไรต้องรีบทำนะครับ..
ตอบลบสวย
ตอบลบเงียบ
และร่มเย็นไปมาแล้ว
ไปทุกอาทิตย์เลย
ไกล้บ้านด้วย
เล่นน้ำก้อได้